กฟก.กลุ่มจังหวัด ภูมิภาคที่ 1 กลุ่มจังหวัด ที่ 1 (ภาคเหนือ) จัด Workshop ติวเข้มเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้าใจแก่สำนักงานสาขาจังหวัด พนักงานผู้ปฎิบัติงานด้านการเงิน

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.00 น. นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) หัวหน้ากลุ่มจังหวัด ภูมิภาคที่ 1 กลุ่มจังหวัด ที่ 1 (ภาคเหนือ) เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการบูรณาการเพื่อดำเนินงานตามภารกิจของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ภูมิภาค ที่ 1 กลุ่มจังหวัดที่ 1 (ภาคเหนือ) ครั้งที่ 2/2568 โดยมีนายประเทือง นรินทรางกูล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 1 เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมเจ้าสุมนเทวราช ชั้น 6 ศาลากลางจังหวัดน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

โดยในวันนี้ (วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568) กลุ่มจังหวัด ที่ 1 ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับการเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้าใจแก่สำนักงานสาขาจังหวัด พนักงานผู้ปฎิบัติงานด้านการเงิน เพื่อรับการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ทั้งด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ด้านการจัดการหนี้ของเกษตรกร ด้านบริหารสำนักงานในเรื่องพัสดุ–ครุภัณฑ์ของสำนักงาน ด้านบัญชี-การเงิน โดยเน้นย้ำการจัดทำเอกสารหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายให้ถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ คำสั่งและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง.

กฟก.เชียงราย เข้าร่วมประชุมคณะกรมการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และนายอำเภอ ประจำจังหวัดเชียงราย ครั้งที่ 2/2568

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 10.00 น. นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) มอบหมายให้ นางสาวศริญญา สุริยนต์ พนักงานทั่วไป เข้าร่วมประชุมคณะกรมการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และนายอำเภอ ประจำจังหวัดเชียงราย ครั้งที่ 2/2568 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2568 โดยมีนายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในการประชุมฯ ณ ห้องประชุม จอมกิตติ ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดเชียงราย

กฟก.กลุ่มจังหวัดที่ 1 (ภาคเหนือ) หารือร่วม ธ.ก.ส.ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติคณะรัฐมนตรี

วันที่ 26-27 กุมภาพันธ์ 2568
นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) หัวหน้ากลุ่มจังหวัด ภูมิภาคที่ 1 กลุ่มจังหวัด ที่ 1 (ภาคเหนือ) เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการบูรณาการเพื่อดำเนินงานตามภารกิจของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ภูมิภาค ที่ 1 กลุ่มจังหวัดที่ 1 (ภาคเหนือ) ครั้งที่ 2/2568 โดยมีนายประเทือง นรินทรางกูล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 1 และนายยงยุทธ อินทชาติ ผู้ช่วยอำนวยการสำนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดน่าน และนายวิรัช ปัญญา พนักงานบริหารจัดการหนี้ ซึ่งได้รับมอบหมายจาก ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขา ธ.ก.ส.ภาคเหนือตอนบน เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมเจ้าสุมนเทวราช ชั้น 6 ศาลากลางจังหวัดน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

โดยผู้แทนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส. )ได้สรุปผลการดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติคณะรัฐมนตรี 22 มีนาคม 2565 และวันที่ 14 มีนาคม 2566 สถาบันเจ้าหนี้ ธ.ก.ส. ในส่วนของ ธ.ก.ส. 9 จังหวัดภาคเหนือ (ข้อมูล ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568) ดังนี้ รายชื่อผู้มีสิทธิ จำนวน 9,890 ราย ต้นเงิน 3,053,133,080.12 จัดทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ฯ แล้ว จำนวน 4,536 ราย ต้นเงิน 778,445,389.03 บาท เกษตรกรได้ชำระต้นครึ่งแรกเสร็จ(ปิดบัญชีตามโครงการฯ) จำนวน 209 ราย จำนวนเงิน 24,236,262.60 บาท ทั้งนี้ที่ประชุมได้สรุปร่วมกันโดยให้สำนักงาน กฟก.สาขาจังหวัด และ สำนักงาน สนจ.ธ.ก.ส.จังหวัด บูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อติดตามเกษตรกรที่ยังไม่ได้รายงานตัวและยังไม่ได้จัดทำสัญญา ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 21 มีนาคม 2568

ทั้งนี้คณะกรรมการบูรณาการเพื่อดำเนินงานตามภารกิจของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ภูมิภาค ที่ 1 กลุ่มจังหวัดที่ 1 (ภาคเหนือ) ได้พิจารณาการติดตามแผนการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมณ2568 ด้านการบริหารงานสำนักงาน ด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และด้านการจัดการหนี้ของเกษตรกร

และในการจัดประชุมครั้งนี้ กลุ่มจังหวัด ที่ 1 ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับการเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้าใจแก่สำนักงานสาขาจังหวัด พนักงานผู้ปฎิบัติงานด้านการเงิน เพื่อรับการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ทั้งด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ด้านการจัดการหนี้ของเกษตรกร ด้านบริหารสำนักงานในเรื่องพัสดุ–ครุภัณฑ์ของสำนักงาน ด้านบัญชี-การเงิน โดยเน้นย้ำการจัดทำเอกสารหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายให้ถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ คำสั่งและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง.

กฟก.เชียงราย ลงพื้นที่สนับสนุนการจัดทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ฯ ตามมติ คณะรัฐมนตรี 22 มีนาคม 2565 และวันที่ 14 มีนาคม 2566

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) มอบหมายให้ นางสาวผุสดี มะเทวิน นางสาววราภรณ์ ปฏิสิขัง ผู้ปฏิบัติงานสำนักงานสาขาจังหวัด และนายณัฐภูมิ เข็มขาว ผู้ปฎิบัติงานกลุ่มงานบริการ ลงพื้นที่สนับสนุนการจัดทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ฯ ตามมติ คณะรัฐมนตรี 22 มีนาคม 2565 และวันที่ 14 มีนาคม 2566 ณ ธ.ก.ส. สาขา ดังนี้

  1. ธ.ก.ส. สาขาปล้อง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย โดยมีนายวัชระ จันทรศรี พนักงานบริหารจัดการหนี้ 8 สำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดเชียงรายจ.ส.ต.สุรินทร์ ถาตา หัวหน้าหน่วยอำเภอ ธ.ก.ส.สาขาปล้อง ร่วมดำเนินการ
  2. ธ.ก.ส. สาขาป่าเเดด อำเภอป่าเเดด จังหวัดเชียงราย โดยมีนายวัชระ จันทรศรี พนักงานบริหารจัดการหนี้ 8 สำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดเชียงราย นายอภิชัย หมุดใหม่ หัวหน้าหน่วยอำเภอ ธ.ก.ส.สาขาป่าเเดด ร่วมดำเนินการ

ทั้งนี้คณะรัฐมนตรี ได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 เห็นชอบในหลักการ การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยให้เกษตรกรทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้เดิม และให้เกษตรกรทำสัญญาผ่อนชำระเงินต้นคงค้างครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) ตามระยะเวลาที่ตกลงกันแต่ไม่เกิน 15 ปี โดยไม่ เสียดอกเบี้ย สำหรับการชดเชยเงินต้นร้อยละ 50 และดอกเบี้ยในส่วนที่เกษตรกรไม่ต้องรับภาระ และค่าใช้จ่ายต่างๆ รัฐบาลจะรับภาระจัดสรรชดเชยให้กับธนาคารฯ เมื่อเกษตรกรได้ชำระหนี้งวดสุดท้ายเสร็จสิ้นแล้ว.

กฟก.เชียงราย จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดเชียงราย ครั้งที่ 2/2568

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13.00 น. สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดเชียงราย ครั้งที่ 2/2568 โดยมีนายเสงี่ยม เเสนพิช เป็นประธาน และมีนายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) ทำหน้าที่อนุกรรมการและเลขานุการ ณ ห้องประชุมสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงราย โดยที่ประชุมมีวาระพิจารณาดังนี้

1.พิจารณากลั่นกรองแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ที่ยื่นเสนอขอรับงบประมาณกู้ยืม (ปลอดดอกเบี้ย) จำนวน 2 องค์กร ดังนี้

1.1 กลุ่มพัฒนาเกษตรกรบ้านเกี๋ยงใต้ รหัสองค์กร 5743003742 หมู่ที่ 6 ต.ห้วยซ้อ อ.เชียงของ จ.เชียงราย โดยองค์กรเกษตรกรได้ยื่นเสนอแผนและโครงการฯ ปลูกข้าว จำนวนเงิน 433,650 บาท มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 12 ราย

1.2 กลุ่มเกษตรฟื้นฟูร่วมใจพัฒนาบ้านร่มโพธิ์ทอง รหัวองค์กร 5752000181 หมู่ที่ 22 ต.ท่าก๊อ อ.แม่สรวย
จ.เชียงราย โดยองค์กรเกษตรกรได้ยื่นเสนอแผนและโครงการฯ ทอตุงล้านนาภูมิปัญญาชาวเหนือ จำนวนเงิน 393,300 บาท มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 10 ราย

  1. เห็นชอบการขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกร พ.ศ.2568 ครั้งที่ 2 (ระหว่างวันที่ 25 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568) จำนวน 15 ราย จำนวนบัญชี 50 บัญชี มูลหนี้รวม 10,424,760.35 บาท
  2. เห็นชอบกรณีนายทะเบียน ไม่อนุมัติขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกร (ระหว่างวันที่ 25 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568) จำนวน 2 ราย จำนวนบัญชี 3 บัญชี มูลหนี้รวม 400,000 บาท

กฟก.เชียงราย ลงพื้นที่สนับสนุนการจัดทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ฯ ตามมติ คณะรัฐมนตรี 22 มีนาคม 2565 และวันที่ 14 มีนาคม 2566

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568
นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) มอบหมายให้ นางสาววราภรณ์ ปฏิสิขัง นางสาวนิตยา ตุ้ยลี้ ผู้ปฏิบัติงานสำนักงานสาขาจังหวัดและนายณัฐภูมิ เข็มขาว
ผู้ปฎิบัติงานกลุ่มงานบริการ ลงพื้นที่สนับสนุนการจัดทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ฯ ตามมติ คณะรัฐมนตรี 22 มีนาคม 2565 และวันที่ 14 มีนาคม 2566 โดยมีนางสาวชลนิดา มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดเชียงราย นายประดิษฐ์ อาญา พนักงานบริหารจัดการหนี้ 8 สำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดเชียงราย ณ ธ.ก.ส. สาขา ดังนี้

  1. ธ.ก.ส. สาขาเเม่สาย อำเภอเเม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยมี นายสุทัศน์ ลิขิตเเสนภู ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาเเม่สาย ร่วมดำเนินการ
  2. ธ.ก.ส. สาขาเชียงเเสน อำเภอเชียงเเสน จังหวัดเชียงราย โดยมี นายประเทือง นงค์ยา หัวหน้าหน่วยอำเภอ ธ.ก.ส.สาขาเชียงเเสน ร่วมดำเนินการ

ทั้งนี้คณะรัฐมนตรี ได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 เห็นชอบในหลักการ การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยให้เกษตรกรทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้เดิม และให้เกษตรกรทำสัญญาผ่อนชำระเงินต้นคงค้างครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) ตามระยะเวลาที่ตกลงกันแต่ไม่เกิน 15 ปี โดยไม่ เสียดอกเบี้ย สำหรับการชดเชยเงินต้นร้อยละ 50 และดอกเบี้ยในส่วนที่เกษตรกรไม่ต้องรับภาระ และค่าใช้จ่ายต่างๆ รัฐบาลจะรับภาระจัดสรรชดเชยให้กับธนาคารฯ เมื่อเกษตรกรได้ชำระหนี้งวดสุดท้ายเสร็จสิ้นแล้ว.

กฟก.เชียงราย ลงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการดำเนินการจัดทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ฯ ตามมติ คณะรัฐมนตรี 22 มีนาคม 2565 และวันที่ 14 มีนาคม 2566

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.00 น. นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) มอบหมายให้ นางสาววราภรณ์ ปฏิสิขัง นางสาวนิตยา ตุ้ยลี้ ผู้ปฏิบัติงานสำนักงานสาขาจังหวัด และนายณัฐภูมิ เข็มขาว ผู้ปฎิบัติงานกลุ่มงานบริการ

ลงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการดำเนินการจัดทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ฯ ตามมติ คณะรัฐมนตรี 22 มีนาคม 2565 และวันที่ 14 มีนาคม 2566 โดยมี นางสาวชลนิดา มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานธ.ก.ส.จังหวัดเชียงราย นายประดิษฐ์ อาญา พนักงานบริหารจัดการหนี้ 8 สำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดเชียงราย เจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส.สาขาเทิง และเกษตรกรสมาชิก กฟก.ที่ได้รับสิทธิ์ ร่วมด้วย ณ ห้องประชุม ธ.ก.ส.สาขาเทิง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

ทั้งนี้คณะรัฐมนตรี ได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 เห็นชอบในหลักการ การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยให้เกษตรกรทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้เดิม และให้เกษตรกรทำสัญญาผ่อนชำระเงินต้นคงค้างครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) ตามระยะเวลาที่ตกลงกันแต่ไม่เกิน 15 ปี โดยไม่ เสียดอกเบี้ย สำหรับการชดเชยเงินต้นร้อยละ 50 และดอกเบี้ยในส่วนที่เกษตรกรไม่ต้องรับภาระ และค่าใช้จ่ายต่างๆ รัฐบาลจะรับภาระจัดสรรชดเชยให้กับธนาคารฯ เมื่อเกษตรกรได้ชำระหนี้งวดสุดท้ายเสร็จสิ้นแล้ว.

กฟก.เชียงราย ลงพื้นที่เพื่อชี้แจงเงื่อนไขและเตรียมความพร้อมในการจัดทำนิติกรรมสัญญาให้เกษตรกรที่ได้รับสิทธิชำระหนี้แทนเกษตรกร งบประมาณประจำปี พ.ศ.2568

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568
เวลา 09.30 น. นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) มอบหมายให้ นางสาวผุสดี มะเทวิน เเละนางสาววราภรณ์ ปฏิสิขัง ผู้ปฏิบัติงานสำนักงานสาขาจังหวัด ลงพื้นที่เพื่อชี้แจงเงื่อนไขและเตรียมความพร้อมในการจัดทำนิติกรรมสัญญาให้เกษตรกรที่ได้รับสิทธิชำระหนี้แทนเกษตรกร งบประมาณประจำปี พ.ศ.2568 จำนวน 1 ราย จำนวนเงิน 73,019.78 บาท

โดยมีนางปุญชรัสมิ์ จำรัส
นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย นายคำ คำแก้ว ประธานสหกรณ์ฯ เเละเจ้าหน้าที่สหกรณ์ฯ ร่วมดำเนินการ ณ สหกรณ์ อ.บ.ต. สันกลาง จำกัด อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

กฟก.เชียงราย ลงพื้นที่ประชุมร่วมกับองค์กรเกษตรกร กลุ่มพัฒนาเกษตรกรบ้านเกี๋ยงใต้ เพื่อพัฒนาแผนและโครงการฟื้นและพัฒนาเกษตรกร ปีงบประมาณ พ.ศ.2568

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13.30 น. นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) มอบหมายให้ นางสุกัญญา แสงหล้า พนักงานอาวุโส นางสาวจุฑาทิพย์ ปินตาสาร ผู้ปฏิบัติงานสำนักงานสาขาจังหวัดเชียงราย และนายณัฐภูมิ เข็มขาว ผู้ปฏิบัติงานกลุ่มงานบริการ ลงพื้นที่ประชุมร่วมกับองค์กรเกษตรกร กลุ่มพัฒนาเกษตรกรบ้านเกี๋ยงใต้ เพื่อพัฒนาแผนและโครงการฟื้นและพัฒนาเกษตรกร ปีงบประมาณ พ.ศ.2568

โดยมีนายชูศักดิ์ อ้อยเฮิง หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงราย อนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดเชียงราย (ผู้แทนภาคราชการ) และนายวราวุธ อุสาใจ อนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดเชียงราย(ผู้แทนองค์กรเกษตรกร) ร่วมด้วย ณ วัดเกี๋ยงใต้ หมู่ที่ 6 ตำบลห้วยซ้อ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

โดยองค์กรเกษตรกร กลุ่มพัฒนาเกษตรกรบ้านเกี๋ยงใต้ ได้ยื่นเสนอแผนและโครงการฯ ปลูกข้าว จำนวนเงิน 433,650 บาท มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 13 ราย

กฟก.เชียงราย เข้าร่วมกิจกรรม โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2568

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 08.30 น. นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) มอบหมายให้ นางสุกัญญา แสงหล้า พนักงานอาวุโส นางสาวนิตยา ตุ้ยลี้ นางสาวจุฑาทิพย์ ปินตาสาร ผู้ปฏิบัติงานสำนักงานสาขาจังหวัดเชียงราย และ นายณัฐภูมิ เข็มขาว ผู้ปฏิบัติงานกลุ่มงานบริการ เข้าร่วมกิจกรรม โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีนายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธาน และมีนายวราวุธ อุสาใจ อนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดเชียงราย (ผู้แทนองค์กรเกษตรกร) ร่วมด้วย ณ โรงเรียนอนุบาลเวียงแก่น ตำบลหล่ายงาว อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย

โดยสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) ได้ให้บริการแก่เกษตรกร ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เช่น การให้คำปรึกษาในเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ด้านการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร และโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก.ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 มีนาคม 2565 วันที่ 14 มีนาคม 2566 และวันที่ 11 ธันวาคม 2567