นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) ร่วมประชุมคณะกรรมการจัดทำร่างระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ได้รับการจัดการหนี้

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.30 น.นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) ร่วมประชุมคณะกรรมการจัดทำร่างระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ได้รับการจัดการหนี้ เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางและจัดทำแผนปฏิบัติการของคณะกรรมการจัดทำร่างระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ได้รับการจัดการหนี้ ณ ห้องประชุม 6A ชั้น 6 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (สนญ.)

กฟก.จังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่ส่งมอบโคและกระบือ ขององค์กรเกษตรกร กลุ่มทำนาบ้านห้วยก้างนาล้อม หมู่ 11โดยมีสำนักงานปศุสัตว์ อำเภอพญาเม็งราย ร่วมลงพื้นที่ให้คำแนะนำการเฝ้าระวังและป้องกันโรคระบาดสัตว์และส่งมอบรายงานผลการวิเคราะห์ ทดสอบ และชันสูตรโรคสัตว์ ให้แก่เกษตรกร ผู้เข้าร่วมโครงการฯ

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.00 น. นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) ลงพื้นที่ร่วมส่งมอบโค และกระบือ(เบิกจ่ายงวดที่ 1) ขององค์กรเกษตรกร กลุ่มทำนาบ้านห้วยก้างนาล้อม หมู่ 11 โดยมีนายสุพัฒน์ มะโนสมบัติ ตำแหน่งเจ้าพนักงานสัตวบาล สำนักงานปศุสัตว์ อำเภอพญาเม็งราย ร่วมลงพื้นที่ให้คำแนะนำการเฝ้าระวังและป้องกันโรคระบาดสัตว์ และส่งมอบรายงานผลการวิเคราะห์ ทดสอบ และชันสูตรโรคสัตว์ ให้แก่เกษตรกร ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ณ บ้านห้วยก้างนาล้อม หมู่ที่ 11 ตำบลไม้ยา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย

โดยองค์กรเกษตรกร กลุ่มทำนาบ้านห้วยก้างนาล้อม หมู่ 11 ได้รับอนุมัติโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ 2567 ประเภทงบกู้ยืม (ปลอดดอกเบี้ย) โครงการเลี้ยงโคและกระบือ ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 11 คน งบประมาณ จำนวน 690,000 บาท มีระยะเวลาชำระเงินคืน 5 ปี ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 7 ปี

โดยมีผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการเลี้ยงโคและกระบือ (เบิกจ่ายงวดที่ 1) สมาชิกได้จัดซื้อโค จำนวน 4 ตัว และกระบือ จำนวน 2 ตัว

ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ชั้น 1 โทรศัพท์ 053-150156 ในวันและเวลาราชการ

กฟก.จังหวัดเชียงราย ร่วมประชุมคณะทำงานสรรหาผู้แทนภาคราชการและผู้แทนภาคเอกชน เป็นอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัด ภูมิภาคที่ 1 (ภาคเหนือ) ครั้งที่ 1 / 2567

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) ร่วมประชุมคณะทำงานสรรหาผู้แทนภาคราชการและผู้แทนภาคเอกชน เป็นอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัด ภูมิภาคที่ 1 (ภาคเหนือ) ครั้งที่ 1 / 2567 ณ ห้องประชุมสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงใหม่

กฟก.จังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่ร่วมส่งมอบกระบือแม่พันธุ์ ขององค์กรเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรทำนาหนองแรด โดยมีสำนักงานปศุสัตว์อำเภอเทิง ร่วมลงพื้นที่ให้คำแนะนำการเฝ้าระวังและป้องกันโรคระบาดสัตว์ และส่งมอบบัตรประจำตัวสัตว์/รายงานผลการวิเคราะห์ ทดสอบ และชันสูตรโรคสัตว์ ให้แก่เกษตรกร ผู้เข้าร่วมโครงการฯ

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.00 น. นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) ลงพื้นที่ร่วมส่งมอบกระบือแม่พันธุ์ จำนวน 15 ตัว (เบิกจ่ายงวดที่ 1) ขององค์กรเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรทำนาหนองแรด โดยมีนายยุทธการ ยอดแก้ว นายสัตวแพทย์ชำนาญการ รักษาราชการแทนปศุสัตว์อำเภอเทิง สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเทิง ร่วมลงพื้นที่ให้คำแนะนำการเฝ้าระวังและป้องกันโรคระบาดสัตว์ และส่งมอบบัตรประจำตัวสัตว์/รายงานผลการวิเคราะห์ ทดสอบ และชันสูตรโรคสัตว์ ให้แก่เกษตรกร ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ณ บ้านม่อนป่ายาง หมู่ที่ 5 ตำบลหนองแรด อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

โดยองค์กรเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรทำนาหนองแรด ได้รับอนุมัติโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ 2567 ประเภทงบกู้ยืม (ปลอดดอกเบี้ย) โครงการเลี้ยงกระบือแม่พันธุ์ ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 10 คน งบประมาณ จำนวน 1,050,000 บาท มีระยะเวลาชำระเงินคืน 5 ปี ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 7 ปี

โดยมีผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการเลี้ยงกระบือแม่พันธุ์ (เบิกจ่ายงวดที่ 1) สมาชิกได้จัดซื้อกระบือแม่พันธุ์ จำนวน 15 ตัว

ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ชั้น 1 โทรศัพท์ 053-150156 ในวันและเวลาราชการ

กฟก.จังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่ปฎิบัติงาน เพื่อติดตามและประเมินผลโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ขององค์กรเกษตรกร กลุ่มกองทุนพัฒนาอาชีพเกษตรกร

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.00 น. นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) มอบหมายให้ นางสาวผุสดี มะเทวิน และนางสาวจุฑาทิพย์ ปินตาสาร ลูกจ้างกลุ่มงานทั่วไป ลงพื้นที่ปฎิบัติงาน เพื่อติดตามและประเมินผลโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ขององค์กรเกษตรกร กลุ่มกองทุนพัฒนาอาชีพเกษตรกร ณ บ้านหินถ้ำ หมู่ที่ 3 ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

โดย องค์กรเกษตรกร กลุ่มกองทุนพัฒนาอาชีพเกษตรกร ได้รับอนุมัติโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จากสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) งบประมาณประจำปี พ.ศ.2567 ประเภทงบกู้ยืม (ปลอดดอกเบี้ย) โครงการปลูกยางพารา จำนวนเงิน 320,000 บาท ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 10 ราย

ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ชั้น 1 โทรศัพท์ 053-150156 ในวันและเวลาราชการ

กฟก.เชียงราย ลงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการดำเนินการจัดทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ฯ ตามมติ คณะรัฐมนตรี 22 มีนาคม 2565 และวันที่ 14 มีนาคม 2566 และร่วมลงนามพยาน ในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ฯ ของเกษตรกร กลุ่มเป้าหมาย อำเภอเเม่จัน

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 เวลา 11.30 น. นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) ลงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการดำเนินการจัดทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ฯ ตามมติ คณะรัฐมนตรี 22 มีนาคม 2565 และวันที่ 14 มีนาคม 2566 และร่วมลงนามพยาน ในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ฯ ของเกษตรกร กลุ่มเป้าหมาย อำเภอเเม่จัน โดยมี นายสนิท คำภีระ พนักงานพัฒนาธุรกิจ 7 ธนาคารธ.ก.ส.สาขาแม่จัน ร่วมดำเนินการ ณ ธนาคาร ธ.ก.ส. สาขาเเม่จัน อำเภอเเม่จัน จังหวัดเชียงราย

ทั้งนี้คณะรัฐมนตรี ได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 เห็นชอบในหลักการ การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยให้เกษตรกรทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้เดิม และให้เกษตรกรทำสัญญาผ่อนชำระเงินต้นคงค้างครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) ตามระยะเวลาที่ตกลงกันแต่ไม่เกิน 15 ปี โดยไม่ เสียดอกเบี้ย สำหรับการชดเชยเงินต้นร้อยละ 50 และดอกเบี้ยในส่วนที่เกษตรกรไม่ต้องรับภาระ และค่าใช้จ่ายต่างๆ รัฐบาลจะรับภาระจัดสรรชดเชยให้กับธนาคารฯ เมื่อเกษตรกรได้ชำระหนี้งวดสุดท้ายเสร็จสิ้นแล้ว.

กฟก.จังหวัดเชียงราย บูรณาการร่วมศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เชียงราย นำเกษตรกรศึกษาเรียนรู้ดูงาน กระบวนการเลี้ยงโค แบบลดต้นทุน การพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการผลิตอาหารสัตว์ การปลูกพืชอาหารสัตว์

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00 น. นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย ได้นำผู้แทนองค์กรเกษตรกร จำนวน 9 องค์กร สมาชิกจำนวน 30 ราย กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับอนุมัติโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประเภทงบกู้ยืม (ปลอดดอกเบี้ย) กิจกรรมประเภทการเลี้ยงโคและกระบือ เข้าศึกษาเรียนรู้ดูงาน กระบวนการเลี้ยงโค แบบลดต้นทุน การพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการผลิตอาหารสัตว์ การปลูกพืชอาหารสัตว์ การขอรับการสนับสนุนปัจจัยการผลิตอาหารสัตว์ และอื่นๆที่เกี่ยวข้องในโครงการฯ โดยนางพรพิมล บุญวงค์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เชียงราย มอบหมายให้นายธราพงษ์ วงค์เวียงมา นักวิชาการสัตวบาล ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เชียงราย เป็นวิทยากรบรรยาย ให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เชียงราย ต.บ้านดู่ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย

โดยองค์กรเกษตรกร กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับอนุมัติโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประเภทงบกู้ยืม (ปลอดดอกเบี้ย) ที่เข้าร่วมศึกษาเรียนรู้ดูงาน ดังนี้

  1. กลุ่มทำไร่บ้านใหม่ร่องหวาย โครงการเลี้ยงโคแม่พันธุ์ ปีงบประมาณ 2564 จำนวนเงิน 665,000 บาท จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯ 10 ราย
  2. กลุ่มเกษตรผสมผสานร่องขุน หมู่ที่ 6 โครงการเลี้ยงโคแม่พันธุ์ ปีงบประมาณ 2564 จำนวนเงิน 600,000 บาทจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯ 10 ราย
  3. กลุ่มพัฒนาการเกษตรไม้ยาคูเวียง โครงการเลี้ยงโคแม่พันธุ์และกระบือแม่พันธุ์ ปีงบประมาณ 2565 จำนวนเงิน 315,000 บาท จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯ 10 ราย
  4. กลุ่มเกษตรพัฒนา หมู่ที่ 1 กลุ่มที่ 1 โครงการเลี้ยงโคแม่พันธุ์ ปีงบประมาณ 2566 จำนวนเงิน 1,080,000 บาท จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯ 15 ราย
  5. กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ โครงการเลี้ยงโคแม่พันธุ์ ปีงบประมาณ 2566 จำนวนเงิน 900,000 บาท จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯ 10 ราย
  6. กลุ่มเกษตรกรทำนาหนองแรด โครงการเลี้ยงกระบือแม่พันธุ์ ปีงบประมาณ 2567 จำนวนเงิน 1,050,000 บาท จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯ 10 ราย
  7. กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงวัวเพื่อพัฒนาชีวิต โครงการเลี้ยงโคแม่พันธุ์ ปีงบประมาณ 2567 จำนวนเงิน 600,000 บาท จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯ 10 ราย
  8. กลุ่มทำนาบ้านห้วยก้างนาล้อม หมู่ 11 โครงการเลี้ยงโคแม่พันธุ์และกระบือแม่พันธุ์ ปีงบประมาณ 2567 จำนวนเงิน 690,000 บาท จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯ 11 ราย
  9. กลุ่มเกษตรบ้านเด่นพัฒนา หมู่ 5 โครงการเลี้ยงโคแม่พันธุ์ ปีงบประมาณ 2567 จำนวนเงิน 1,316,620 บาท จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯ 10 ราย

กฟก.จังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่ร่วมส่งมอบโคแม่พันธุ์ จำนวน 10 ตัว (เบิกจ่ายงวดที่ 2) ขององค์กรเกษตรกร กลุ่มเกษตรเลี้ยงวัวเพื่อพัฒนาชีวิต

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 เวลา 11.00 นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) มอบหมายให้ นางสุกัญญา แสงหล้า พนักงานอาวุโส และนางสาวจุฑาทิพย์ ปินตาสาร ลูกจ้างกลุ่มงานทั่วไป ลงพื้นที่ร่วมส่งมอบโคแม่พันธุ์ จำนวน 10 ตัว (เบิกจ่ายงวดที่ 2) ขององค์กรเกษตรกร กลุ่มเกษตรเลี้ยงวัวเพื่อพัฒนาชีวิต ณ บ้านโนนสมบูรณ์ หมู่ที่ 10 ตำบลงิ้ว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

โดยองค์กรเกษตรกร กลุ่มเกษตรเลี้ยงวัวเพื่อพัฒนาชีวิต ได้รับอนุมัติโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ 2567 ประเภทงบกู้ยืม (ปลอดดอกเบี้ย) โครงการเลี้ยงโคแม่พันธุ์ ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 10 คน งบประมาณ จำนวน 600,000 บาท มีระยะเวลาชำระเงินคืน 5 ปี ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 7 ปี

โดยมีผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการเลี้ยงโคแม่พันธุ์ (เบิกจ่ายงวดที่ 2) สมาชิกได้จัดซื้อโคแม่พันธุ์ จำนวน 10 ตัว

ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ชั้น 1 โทรศัพท์ 053-150156 ในวันและเวลาราชการ

กฟก.เชียงราย ลงพื้นที่เพื่อร่วมลงนามพยาน ในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ฯ และชี้แจงทำความเข้าใจกับเกษตรกร ตามหลักเกณฑ์สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ฯ ตามมติ คณะรัฐมนตรี 22 มีนาคม 2565 และวันที่ 14 มีนาคม 2566

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.00 น. นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) มอบหมายให้ นางสุกัญญา เเสงหล้า พนักงานอาวุโส ลงพื้นที่เพื่อร่วมลงนามพยาน ในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ฯ ตามมติ คณะรัฐมนตรี 22 มีนาคม 2565 และวันที่ 14 มีนาคม 2566 เกษตรกร กลุ่มเป้าหมาย อ.เทิง จ.เชียงรายจำนวน 21 ราย และชี้แจงทำความเข้าใจกับเกษตรกร ตามหลักเกณฑ์สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ฯ ตามมติ คณะรัฐมนตรี 22 มีนาคม 2565 และวันที่ 14 มีนาคม 2566 โดยมี จ.ส.ต. สุรินทร์ ถาดา หัวหน้าหน่วยอำเภอ ธ.ก.ส. สาขาปล้อง และนายประดิษฐ์ อาญา พนักงานบริหารจัดการหนี้ 8 สำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดเชียงราย ร่วมด้วย

ทั้งนี้คณะรัฐมนตรี ได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 เห็นชอบในหลักการ การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยให้เกษตรกรทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้เดิม และให้เกษตรกรทำสัญญาผ่อนชำระเงินต้นคงค้างครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) ตามระยะเวลาที่ตกลงกันแต่ไม่เกิน 15 ปี โดยไม่ เสียดอกเบี้ย สำหรับการชดเชยเงินต้นร้อยละ 50 และดอกเบี้ยในส่วนที่เกษตรกรไม่ต้องรับภาระ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รัฐบาลจะรับภาระจัดสรรชดเชยให้กับธนาคารฯ เมื่อเกษตรกรได้ชำระหนี้งวดสุดท้ายเสร็จสิ้นแล้ว

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย มีความประสงค์รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อเป็นลูกจ้างของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในปีงบประมาณ 2568 ตำแหน่งลูกจ้างกลุ่มงานทั่วไป จำนวน 3 อัตรา และลูกจ้างกลุ่มงานบริการ (ขับรถยนต์) จำนวน 1 อัตรา

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย มีความประสงค์รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อเป็นลูกจ้างของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในปีงบประมาณ 2568 ตำแหน่งลูกจ้างกลุ่มงานทั่วไป จำนวน 3 อัตรา และลูกจ้างกลุ่มงานบริการ (ขับรถยนต์) จำนวน 1 อัตรา เพื่อปฏิบัติงานประจำสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ชั้น 1 ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ค่าจ้างเป็นไปตามที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กำหนด

ให้ผู้ประสงค์จะสมัครคัดเลือกขอใบสมัครและกรอกรายละเอียดข้อมูลให้ครบถ้วนและยื่นใบสมัครด้วยตนเอง ได้ที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ชั้น 1 ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่วันที่ 7 – 12 พฤศจิกายน 2567 เวลา 08.30 น.-16.30 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ชั้น 1 ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์ 053-150156 / 053-177331