กฟก.จังหวัดเชียงราย โอนโฉนดที่ดินและมอบโฉนดที่ดินให้เกษตรกร อำเภอแม่สาย

วันที่ 28 พฤษภาคม 2568 เวลา 10.00 น. นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) ได้ดำเนินการโอนโฉนดที่ดินและมอบโฉนดที่ดินให้เกษตรกร ตำบลบ้านด้าย อำเภอแม่สาย จำนวน 1 ราย เป็นโฉนดที่ดิน จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 2 งาน 28 ตารางวา ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงราย สาขาแม่สาย

โดยการโอนโฉนดที่ดินและมอบโฉนดที่ดินคืนให้เกษตรกรรายดังกล่าว สืบเนื่องจากสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ได้เข้าไปชำระหนี้แทนเกษตรกร ให้กับสหกรณ์ฯเจ้าหนี้ของเกษตรกร โดยเกษตรกรได้นำที่ดิน ไปจำนองค้ำประกันการกู้เงินกับสหกรณ์ฯ เพื่อนำเงินไปลงทุนทำเกษตร และเกษตรกรไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้ให้กับสหกรณ์ฯได้ตามสัญญา และเกษตรกรได้ยื่นมาเรื่องขอความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาหนี้สิน กับสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) โดยได้รับการช่วยเหลือในการชำระหนี้แทนดังกล่าว ทั้งนี้ที่ดินจะตกเป็นของ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ตามกฎหมาย โดยเกษตรกรทำสัญญาเช่าชื้อที่ดินคืน กับสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ระยะเวลา 15 ปี และเกษตรกรได้ชำระเงินครบตามสัญญาเรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ชั้น 1 โทรศัพท์ 053-150156 ในวันและเวลาราชการ”

กฟก.จังหวัดเชียงราย โอนโฉนดที่ดินและมอบโฉนดที่ดินให้เกษตรกร หลังได้รับการช่วยเหลือหนี้สินเกษตรกร

วันที่ 27 พฤษภาคม 2568 เวลา 10.00 น. นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) ได้ดำเนินการโอนโฉนดที่ดินและมอบโฉนดที่ดินให้เกษตรกร ตำบลจอมสวรรค์ อำเภอแม่จัน จำนวน 1 ราย เป็นโฉนดที่ดิน จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 3 งาน 99 ตารางวา ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงราย สาขาแม่จัน

โดยการโอนโฉนดที่ดินและมอบโฉนดที่ดินคืนให้เกษตรกรรายดังกล่าว สืบเนื่องจากสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ได้เข้าไปชำระหนี้แทนเกษตรกร ให้กับสหกรณ์ฯเจ้าหนี้ของเกษตรกร โดยเกษตรกรได้นำที่ดิน ไปจำนองค้ำประกันการกู้เงินกับสหกรณ์ฯ เพื่อนำเงินไปลงทุนทำเกษตร และเกษตรกรไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้ให้กับสหกรณ์ฯได้ตามสัญญา และเกษตรกรได้ยื่นมาเรื่องขอความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาหนี้สิน กับสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) โดยได้รับการช่วยเหลือในการชำระหนี้แทนดังกล่าว ทั้งนี้ที่ดินจะตกเป็นของ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ตามกฎหมาย โดยเกษตรกรทำสัญญาเช่าชื้อที่ดินคืน กับสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ระยะเวลา 10 ปี และเกษตรกรได้ชำระเงินครบตามสัญญาเรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ชั้น 1 โทรศัพท์ 053-150156 ในวันและเวลาราชการ”

กฟก. จังหวัดเชียงรายเข้าร่วมกิจกรรมโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ “หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้ม ให้กับประชาชน”

วันที่ 27 พฤษภาคม 2568 เวลา 08.30 น. นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) มอบหมายให้ นางสาวศริญญา สุริยนต์ พนักงานทั่วไป นางสาววราภรณ์ ปฏิสิขัง ผู้ปฏิบัติงานสำนักงานสาขาจังหวัดเชียงราย และนายณัฐภูมิ เข็มขาว ผู้ปฏิบัติงานกลุ่มงานบริการ เข้าร่วมกิจกรรมโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ “หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้ม ให้กับประชาชน”

จังหวัดเชียงราย กำหนดดำเนินโครงการร่วมกับแผนปฏิบัติงานหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว.ประจำจังหวัดเชียงราย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมี นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธาน ณ บ้านป่าลัน หมู่ที่ 5 ต.ปงน้อย อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย

โดยสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) ได้ให้บริการแก่เกษตรกร ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เช่น การให้คำปรึกษาในเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ด้านการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรและโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก.ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 มีนาคม 2565 วันที่ 14 มีนาคม 2566 วันที่ 11 ธันวาคม 2567 และวันที่ 8 เมษายน 2568

กฟก.จังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่สนับสนุนและร่วมลงนามเป็นพยาน ในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ฯ ธ.ก.ส. ลดต้นเงินเหลือ 50% ตามมติคณะรัฐมนตรี

วันที่ 26 พฤษภาคม 2568 เวลา 10.00 น.
นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) ลงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการดำเนินการจัดทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ฯ ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 มีนาคม 2565 วันที่ 14 มีนาคม 2566 วันที่ 11 ธันวาคม 2567 และวันที่ 8 เมษายน 2568

และร่วมลงนามเป็นพยาน ในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ฯ ของเกษตรกร กลุ่มเป้าหมาย อำเภอเชียงเเสน โดยมี นายณัฐชา เครือรุ่งเรือง พนักงานพัฒนาธุรกิจ 7 ร่วมดำเนินการ ณ ธ.ก.ส. สาขาเชียงเเสน อำเภอเชียงเเสน จังหวัดเชียงราย

ทั้งนี้คณะรัฐมนตรี ได้มีมติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบในหลักการ การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยให้เกษตรกรทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้เดิม และให้เกษตรกรทำสัญญาผ่อนชำระเงินต้นคงค้างครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) ตามระยะเวลาที่ตกลงกันแต่ไม่เกิน 15 ปี โดยไม่ เสียดอกเบี้ย สำหรับการชดเชยเงินต้นร้อยละ 50 และดอกเบี้ยในส่วนที่เกษตรกรไม่ต้องรับภาระ และค่าใช้จ่ายต่างๆ รัฐบาลจะรับภาระจัดสรรชดเชยให้กับธนาคารฯ เมื่อเกษตรกรได้ชำระหนี้งวดสุดท้ายเสร็จสิ้นแล้ว.

กฟก.จังหวัดเชียงรายเข้าร่วมประชุมคณะกรมการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และนายอำเภอ ประจำจังหวัดเชียงราย ครั้งที่ 5/2568 ประจำเดือนพฤษภาคม 2568

วันที่ 26 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.30 น. นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) มอบหมายให้ นางสุกัญญา แสงหล้า พนักงานอาวุโส เข้าร่วมประชุมคณะกรมการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และนายอำเภอ ประจำจังหวัดเชียงราย ครั้งที่ 5/2568 ประจำเดือนพฤษภาคม 2568 โดยมีนายประสงค์ หล้าอ่อน รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในการประชุมฯ ณ ห้องประชุม จอมกิตติ ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดเชียงราย

กฟก.จังหวัดเชียงราย เข้าร่วมกิจกรรม โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 3 ประจำปีงบประมาณ 2568

วันที่ 23 พฤษภาคม 2568 เวลา 10.00 น. นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) มอบหมายให้ นางสุกัญญา แสงหล้า พนักงานอาวุโส นางสาวกัญนมนต์ จันทร์ภิรภูพัชร นางสาวจุฑาทิพย์ ปินตาสาร ผู้ปฏิบัติงานสำนักงานสาขาจังหวัดเชียงราย และ นายณัฐภูมิ เข็มขาว ผู้ปฏิบัติงานกลุ่มงานบริการ เข้าร่วมกิจกรรม โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 3 ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีนายนรศักดิ์ สุขสมบูรณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธาน ณ หอประชุมสวนสาธารณะ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา (หนองมโนราห์) ตำบลจันจว้าใต้ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

ทั้งนี้ นายนรศักดิ์ สุขสมบูรณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานมอบเงิน สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) จำนวนเงิน 655,003.38 บาท เพื่อชำระหนี้แทนเกษตรกร สมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในพื้นที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย จำนวน 1 ราย ให้กับสหกรณ์การเกษตรแม่จัน จำกัด โดยมีนายปรีชา วงศ์กา เลขานุการคณะกรรมการสหกรณ์ฯ เป็นผู้รับมอบ โดยการชำระหนี้แทนเกษตรกร ในครั้งนี้ สามารถรักษาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ให้เกษตรกรซึ่งเกษตรกรได้นำไปเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินกับสหกรณ์ฯ เป็นโฉนดที่ดิน จำนวน 3 แปลง เนื้อที่รวม 4 ไร่ 3 งาน 74 ตารางวา

โดยสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) ได้ให้บริการแก่เกษตรกร ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เช่น การให้คำปรึกษาในเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ด้านการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร และโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก.ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 มีนาคม 2565 วันที่ 14 มีนาคม 2566 วันที่ 11 ธันวาคม 2567 และวันที่ 8 เมษายน 2568

กฟก.จังหวัดเชียงราย เข้าร่วมกิจกรรมโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ “หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้ม ให้กับประชาชน” โดยกำหนดดำเนินโครงการร่วมกับแผนปฏิบัติงานหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว.ประจำจังหวัดเชียงราย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

วันที่ 22 พฤษภาคม 2568 เวลา 08.30 น. นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) มอบหมายให้ นางสาวผุสดี มะเทวิน นางสาวนิตยา ตุ้ยลี้ ผู้ปฏิบัติงานสำนักงานสาขาจังหวัดเชียงราย และนายณัฐภูมิ เข็มขาว ผู้ปฏิบัติงานกลุ่มงานบริการ เข้าร่วมกิจกรรมโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ “หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้ม ให้กับประชาชน” โดยกำหนดดำเนินโครงการร่วมกับแผนปฏิบัติงานหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว.ประจำจังหวัดเชียงราย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมี นายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธาน ณ บ้านหมากเอียด หมู่ที่ 14 ต.ป่าซาง อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย

โดยสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) ได้ให้บริการแก่เกษตรกร ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เช่น การให้คำปรึกษาในเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ด้านการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรและโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก.ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 มีนาคม 2565 วันที่ 14 มีนาคม 2566 วันที่ 11 ธันวาคม 2567 และวันที่ 8 เมษายน 2568

กฟก. จังหวัดเชียงราย เข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการของผู้ปฏิบัติงานการเงิน เพื่อปรับปรุงและพัฒนาคู่มือด้านการเงิน ภายใต้โครงการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงาน (กลุ่มงานบริหาร)

วันที่ 18-20 พฤษภาคม 2568 นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้ นางสาวศริญญา สุริยนต์ พนักงานทั่วไป เข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการของผู้ปฏิบัติงานการเงิน เพื่อปรับปรุงและพัฒนาคู่มือด้านการเงิน ภายใต้โครงการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงาน (กลุ่มงานบริหาร) โดยมีนายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เป็นประธาน ณ โรงแรมไมด้าดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร

เกษตรกรเฮ กฟก.เชียงราย รับรองสิทธิและจัดทำเอกสาร ยื่นเข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ฯ ธ.ก.ส.ลดหนี้เหลือเงินต้น 50% ตามมติ ครม.

วันที่ 20 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.00 น. นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) ดำเนินการประชุมชี้แจงและจัดทำเอกสารประกอบการทำสัญญาตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 และวันที่ 8 เมษายน 2568 สถาบันเจ้าหนี้ ธ.ก.ส.

โดยมีนายประเสริฐ พุทธรางกูร และนายเสน่ห์ คำตา อนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดเชียงราย (ผู้แทนองค์กรเกษตรกร) ร่วมด้วย ณ ห้องประชุมอาคารเทิดพระเกียรติ 90 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ เทศบาลนครเชียงราย

ทั้งนี้ขั้นตอนการดำเนินการร่วมกับธนาคารของรัฐ 4 แห่ง กรณีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ให้สำนักงานสาขาจังหวัดส่งมอบสำเนาแบบ ปคน.1 หรือ แบบ ปคน.2 และแบบ ผค.1/4
ให้กับเกษตรกรแต่ละราย เพื่อใช้เป็นเอกสารในการดำเนินการทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับธนาคารซึ่งธนาคารจะดำเนินการติดต่อเกษตรกร มาทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับธนาคารในแต่ละพื้นที่ ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2568 เป็นต้นไป โดยให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 5 กันยายน 2568

“โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารฯ ธ.ก.ส. และให้ผ่อนชำระเงินต้นคงค้างครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) ตามระยะเวลาที่ตกลงกันแต่ไม่เกิน 15 ปี โดยไม่เสียดอกเบี้ย สำหรับการชดเชยเงินต้นร้อยละ 50 และดอกเบี้ยในส่วนที่เกษตรกรไม่ต้องรับภาระ และค่าใช้จ่ายต่างๆ รัฐบาลจะรับภาระจัดสรรชดเชยให้กับธนาคารฯ เมื่อเกษตรกรได้ชำระหนี้งวดสุดท้ายเสร็จสิ้นแล้ว”นายนิยม กล่าว

กฟก.จังหวัดเชียงราย จัดกิจกรรมครบรอบ 26 ปี การก่อตั้ง “กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร “

กฟก.จังหวัดเชียงราย จัดกิจกรรมครบรอบ 26 ปี การก่อตั้ง “กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร “

วันที่ 18 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.26 น. นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) พร้อมพนักงานและลูกจ้างสำนักงาน จัดกิจกรรมประกอบพิธีทางศาสนาเนื่องในโอกาส ครบรอบการก่อตั้ง “กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร” ครบ 26 ปี ณ วัดเจ็ดยอด (พระอารามหลวง) อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

นายนิยม กล่าวว่า กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2542
และมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2542 และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2563 โดยมีวัตถุประสงค์และหน้าที่หลัก ได้แก่ ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ส่งเสริมและสนับสนุนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกร พัฒนาความรู้ในด้านเกษตรกรรมหรือกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรเกษตรกร พัฒนาศักยภาพในการพึ่งพาตนเองและเกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างเกษตรกรกร และแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรในระบบอันเนื่องมาจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเป็นสมาชิกขององค์กรเกษตรกร

นายนิยม กล่าวว่าสำนักงาน กฟก.สาขาจังหวัดเชียงราย มีผลการปฎิบัติงาน ตามภารกิจ ดังนี้

ด้านการฟื้นฟูและพัฒนเกษตรกร

  1. การขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร จำนวน 2,587 องค์กร สมาชิก จำนวน 163,351 ราย
  2. การอนุมัติงบประมาณประเภทงบกู้ยืม จำนวน 50 โครงการ สมาชิกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 911 ราย จำนวนเงิน 17,281,769.00 บาท
  3. การอนุมัติงบประมาณประเภทงบอุดหนุน จำนวน 300 โครงการ สมาชิกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 9,347 ราย จำนวนเงิน 9,276,865.00 บาท

ด้านการจัดการหนี้ของเกษตรกร
1.การขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกร จำนวน 18,587 ราย 23,943 สัญญา
จำนวนเงิน 2,474,885,597.24 บาท

  1. การชำระหนี้แทนเกษตรกร จำนวน 436 ราย 459 สัญญา จำนวนเงิน 154,417,577.87 บาท
  2. การโอนหลักทรัพย์ค้ำประกัน เป็นของกองทุนฯ จำนวน 499 แปลง
    เนื้อที่รวม จำนวน 1,747 ไร่ 2 งาน 11.08 ตารางวา
  3. การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน คืนให้เกษตรกร จำนวน 170 ราย โฉนดที่ดิน จำนวน 310 แปลง เนื้อที่รวม จำนวน 982 ไร่ 2 งาน 28 ตารางวา
  4. การดำเนินการตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก. ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 มีนาคม 2565 วันที่ 14 มีนาคม 2566 วันที่ 11 ธันวาคม 2567 และวันที่ 8 เมษายน 2568 กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 1,489 ราย รายงานตัวแสดงความประสงค์ เข้าร่วมโครงการ 1,100 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.99
  5. การจัดทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ฯ ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 มีนาคม 2565 วันที่ 14 มีนาคม 2566 วันที่ 11 ธันวาคม 2567 และวันที่ 8 เมษายน 2568 สถาบันเจ้าหนี้ ธ.ก.ส. กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 1,468 ราย เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 1,100 ราย โดย ธ.ก.ส.จัดทำสัญญาฯ เรียบร้อยแล้ว จำนวน 742 ราย. (ข้อมูลจาก ธ.ก.ส. ณ วันที่ 27 มีนาคม 2568)